มาย แล็บ สเกล จำหน่ายเครื่องชั่ง
ในห้องแล็บ อุปกรณ์ภายในห้องแล็บ

  • เราคือผู้นำในเรื่องเครื่องวัดและวิเคราะห์
  • เราได้รับความไว้วางใจมาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี
  • ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ Mettler Toledo
ผลิตภัณฑ์ของเรา
สินค้าและบริการของเรา

มาย แล็บ สเกล จำหน่ายอุปกรณ์ในห้องแล็บ ที่เดียวครบ จบทุกความต้องการ

ท่านกำลังมองหาเครื่องชั่งในห้องแล็บ, เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือทางด้านวิศวกรรม ที่มีความแม่นยำและเชื่อถือได้สำหรับใช้ในห้องแล็บหรือห้องปฏิบัติการของท่านหรือไม่? ที่มาย แล็บ สเกล เรามุ่งเน้นให้บริการเครื่องชั่งและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานสูง และความแม่นยำที่สูงเพื่อให้คุณมั่นใจในผลลัพธ์ของการทดลองและการวิจัยของคุณ

บริการของเรา

บริการงานซ่อมและสอบเทียบ

เกี่ยวกับเรา

ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ Mettler Toledo

เรายืนหนึ่งในเรื่องระบบควบคุมคุณภาพในการผลิตมาอย่างยาวนาน ด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพและพร้อมให้บริการอยู่ ลอดเวลาคุณภาพของสินค้าจะดีขึ้น และค่าใช้จ่ายระยะยาวจะลดลง ถ้าคุณเลือกเราเข้าไปดูแล

บริษัท มาย แล็บ สเกล จำกัด
อุปกรณ์ในห้องแล็บ

เครื่องชั่งในห้องแล็บ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำงานของห้องแล็บ

เครื่องชั่งในห้องแล็บมีค่าความละเอียดตั้งแต่ 1 กรัม จนถึง 0.1 ไมโครกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าต้องการค่าความละเอียด และความถูกต้องอยู่ที่เท่าไร การเลือกเครื่องชั่ง แนะนำให้พิจารณาจาก

  • ชั่งน้ำหนักต่ำสุดเท่าไร? (โดยไม่รวมน้ำหนักภาชนะ)
  • ชั่งน้ำหนักสูงสุดเท่าไร? (โดยที่รวมน้ำหนักภาชนะ)
  • ความละเอียดที่ต้องการ? (เช่น 0.01 กรัม, 0.01 มิลลิกรัม เป็นต้น)
  • ยอมรับความผิดพลาดที่เท่าไร? (เช่น 1% หรือ ซั่ง 100 กรั่ม ยอมผิดพลาดได้ 1 กรัม เป็นต้น)
  • หน้างานที่วางเครื่องชั่งน้ำหนักเป็นแบบไหน? (เช่น ในห้องแล็บ, นอกห้องแล็บ, หรือสิ่งรบกวนเช่นการสั่นสะเทือน, ลม, สนามแม่เหล็ก, โต๊ะวางไม่เหมาะสม, ห้องไม่ได้ควบอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์, ชื้นแฉะหรือโดนน้ำ เป็นต้น)
  • ต้องการต่อปริ้นเตอร์ หรือส่งข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์หรือไม่?
เครื่องชั่งในห้องแล็บ

ข้อดีของ เครื่องชั่งในห้องแล็บ

เครื่องชั่งในห้องแล็บนอกจากจะชั่งตามปกติแล้ว บางรุ่นก็จะมีแอปพลิเคชั่นในการชั่งอย่างอื่นทำให้สะดวกในการชั่งมากขึ้น

  • ความแม่นยำ: เครื่องชั่งในห้องแล็บมักมีความแม่นยำสูง ทำให้สามารถชั่งสารเคมีหรือวัตถุอื่นๆ ได้อย่างแม่นยำและเชื่อถือได้
  • ความเชื่อถือได้: เนื่องจากมีความแม่นยำสูง จึงทำให้ผลลัพธ์ที่ได้มีความเชื่อถือได้ สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์หรือการวิจัยต่อได้
  • ปรับแต่งได้: บางรุ่นของเครื่องชั่งในห้องแล็บสามารถปรับแต่งการใช้งานได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น ติดตั้งเครื่องอ่านบาร์โค้ด, ปรับค่าความละเอียดให้หยาบขึ้นได้, บันทึกข้อมูลในการชั่ง เป็นต้น
  • ความสะดวกสบาย: มักมีคุณสมบัติและฟังก์ชันที่ช่วยให้การใช้งานมีความสะดวกสบายมากขึ้น เช่นหน้าจอทัชสกรีน, การเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น.
  • ความทนทาน: เครื่องชั่งในห้องแล็บมักมีความทนทานที่สูง ทำให้ใช้งานได้นานๆ โดยไม่ต้องมีการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง.
  • การบริการหลังการขาย: บริษัทผู้ผลิตหรือจำหน่ายมักมีบริการหลังการขายที่ดี เช่น การให้คำแนะนำในการใช้งาน, การซ่อมบำรุง หรือการอัพเกรด เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ประโยชน์มากที่สุดจากผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมา

บทความและข่าวสาร

เฟอร์นิเจอร์ในห้องปฏิบัติการ ตอบโจทย์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

เฟอร์นิเจอร์ในห้องปฏิบัติการมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การวิจัยและการทดลองเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย การเลือกเฟอร์นิเจอร์สำหรับห้องปฏิบัติการต้องคำนึงถึงความทนทาน คุณภาพ และความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เพราะเฟอร์นิเจอร์ในห้องนี้มีความสำคัญที่มากกว่าเพียงแค่ความสวยงามและการจัดเก็บเท่านั้น บทความนี้จะพูดถึงประเภทของเฟอร์นิเจอร์ในห้องปฏิบัติการ ลักษณะสำคัญของเฟอร์นิเจอร์ที่ควรคำนึง และประโยชน์ที่เฟอร์นิเจอร์เหล่านี้มอบให้แก่ผู้ใช้งานในห้องปฏิบัติการ ประเภทของเฟอร์นิเจอร์ในห้องปฏิบัติการ โต๊ะปฏิบัติการ (Laboratory Workbenches) : โต๊ะปฏิบัติการมีความสำคัญเนื่องจากเป็นพื้นที่หลักในการทำงาน ทั้งการจัดเตรียมสารเคมี การจัดเรียงอุปกรณ์ รวมถึงการทดสอบต่างๆ โต๊ะเหล่านี้ควรทนต่อสารเคมี ทนต่อการขีดข่วน และสามารถรองรับน้ำหนักอุปกรณ์ที่หลากหลายได้ นอกจากนี้ โต๊ะปฏิบัติการที่ออกแบบให้มีชั้นวางหรือช่องเก็บของใต้โต๊ะช่วยให้การจัดเก็บอุปกรณ์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น ตู้เก็บสารเคมี (Chemical Storage Cabinets) : ตู้เก็บสารเคมีถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถเก็บสารเคมีต่างๆ อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนหรือการรั่วไหล ตู้เหล่านี้ควรมีระบบระบายอากาศที่ดี วัสดุทนสารเคมี และระบบล็อกเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตู้ดูดไอสารเคมี (Fume Hoods) : ตู้ดูดไอสารเคมีมีความสำคัญอย่างมากในห้องปฏิบัติการที่ใช้สารเคมีอันตราย เนื่องจากตู้เหล่านี้ช่วยในการดูดและระบายไอระเหยของสารเคมีออกจากห้อง ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ ตู้ดูดไอสารเคมีควรติดตั้งระบบกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพและสามารถควบคุมการทำงานได้ เก้าอี้ปฏิบัติการ (Laboratory Stools or Chairs) : เก้าอี้ในห้องปฏิบัติการควรออกแบบมาเพื่อรองรับการนั่งทำงานเป็นเวลานาน และมีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานในห้องปฏิบัติการ บางห้องอาจต้องการเก้าอี้ที่สามารถหมุนได้ ปรับความสูงได้ หรือมีล้อเลื่อนเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ได้ง่าย ชั้นเก็บของและรถเข็น (Shelving and Laboratory Carts) : ชั้นวางและรถเข็นเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ช่วยเพิ่มพื้นที่เก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบและสามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่างๆ ได้สะดวก รถเข็นในห้องปฏิบัติการควรมีความแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักได้ และวัสดุทนทานต่อสารเคมี ลักษณะสำคัญของเฟอร์นิเจอร์ห้องปฏิบัติการ วัสดุทนทาน: เฟอร์นิเจอร์ในห้องปฏิบัติการควรสร้างจากวัสดุที่ทนทานต่อสารเคมี ทนต่อความร้อนและความชื้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้นานและลดความเสี่ยงต่อการเสียหาย การออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์: เฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสมกับสรีระของผู้ใช้งานช่วยลดการบาดเจ็บจากการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความปลอดภัย: ความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง เช่น ระบบล็อก การระบายอากาศ และความทนทานของวัสดุ ความสะดวกในการทำความสะอาด: เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบให้ทำความสะอาดได้ง่าย ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคและสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน ประโยชน์ของเฟอร์นิเจอร์ในห้องปฏิบัติการ การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสมช่วยให้การดำเนินงานในห้องปฏิบัติการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ปกป้องผู้ใช้งานจากสารเคมี และช่วยให้การจัดการพื้นที่ทำได้สะดวกมากขึ้น ดังนั้นการลงทุนในเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูงจึงเป็นสิ่งที่คุ้มค่าและจำเป็นในระยะยาวการคัดสรรเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกต้องสามารถส่งเสริมประสิทธิภาพและความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการได้อย่างดีเยี่ยม

อ่านเพิ่มเติม ❯

การจัดเตรียมบัฟเฟอร์ – โซลูชัน ในห้องปฏิบัติการเคมีและชีวเคมี

การจัดเตรียมบัฟเฟอร์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นบ่อยในห้องปฏิบัติการเคมีและชีวเคมี สารละลายบัฟเฟอร์เป็นสารผสมระหว่างกรดอ่อนกับคู่เบส หรือเบสอ่อนกับคู่กรด สารละลายบัฟเฟอร์มักนำมาใช้ในการควบคุมค่า pH ของสารละลายที่ผสมกับบัฟเฟอร์ให้คงที่ โดยบัฟเฟอร์จะต้านทานการเปลี่ยนแปลงค่า pH ของสารละลายทั้งหมดเมื่อความเป็นกรดหรือด่างในสารละลายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องมาจากการเติมสารละลายอื่นหรือเกิดปฏิกิริยาเคมีใดๆ ภายในสารละลายดังกล่าว บัฟเฟอร์จึงเป็นสารละลายสารพัดประโยชน์ในการใช้งานต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีค่า pH ที่ค่อนข้างคงที่ ซึ่งบัฟเฟอร์อาจเรียกอีกอย่างว่าบัฟเฟอร์ pH, บัฟเฟอร์ไฮโดรเจนไอออน หรือสารละลายบัฟเฟอร์ ตัวอย่างเช่น เลือดมีบัฟเฟอร์ในธรรมชาติเพื่อควบคุมค่า pH ให้อยู่ระหว่าง 7.35 ถึง 7.45 เสมอ เพื่อให้เอนไซม์ของเราทำงานได้เป็นปกติ การทำงานของเอนไซม์จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่า pH ด้วยเหตุนี้ การควบคุมค่า pH ให้คงที่จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์ทางชีวเคมีเพื่อให้ระดับการทำงานที่สังเกตนั้นถูกต้อง ในการใช้งานเชิงพาณิชย์ เราจะพบบัฟเฟอร์ในยาสระผมเพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อผิวหนัง พบในโลชันทาผิวเด็กเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และพบในน้ำยาล้างคอนแทกเลนส์เพื่อควบคุมค่า pH ของน้ำยาให้ตรงกับช่วงค่า pH ของดวงตา การจัดเตรียมบัฟเฟอร์นั้นมีหลายขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการชั่งน้ำหนักสารประกอบ การละลายสารประกอบ การปรับค่า pH และการเติมสารให้ได้ปริมาณสุดท้ายที่ต้องการ เนื่องจากสัดส่วนของกรดต่อเบสในบัฟเฟอร์นั้นแปรผันตามค่า pH สุดท้ายโดยตรง การชั่งน้ำหนักสารประกอบด้วยระดับของความเที่ยงตรงแม่นยำสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ด้วยเหตุนี้ อุปกรณ์ที่ใช้ (เครื่องชั่ง ปิเปต และมิเตอร์วัดค่า pH) จึงจำเป็นต้องได้รับการสอบเทียบอย่างถูกต้องและมีความแม่นยำเพียงพอ

อ่านเพิ่มเติม ❯

เครื่องปั่นฮีมาโตคริต คืออะไร ใช่งานยังไงมาทำความรู้จักกัน

เครื่อง Centrifuge ฮีมาโตคริต หรือที่เรียกว่า เครื่องปั่นเหวี่ยงฮีมาโตคริต เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแยกองค์ประกอบของเลือดออกจากกันโดยการใช้แรงเหวี่ยง อุปกรณ์นี้ใช้ในการวัดสัดส่วนของเม็ดเลือดแดงในเลือดเมื่อเทียบกับปริมาตรของเลือดทั้งหมด ซึ่งเรียกว่าสัดส่วน ฮีมาโตคริต (Hematocrit) การทำงานของเครื่อง Centrifuge ฮีมาโตคริต หลักการทำงาน: เครื่องจะหมุนหลอดเลือดด้วยความเร็วสูง ทำให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ในเลือดแยกออกจากกันตามความหนาแน่น ส่วนที่หนาแน่นกว่าจะถูกเหวี่ยงไปอยู่ที่ด้านล่างของหลอดเลือด ส่วนที่เบากว่าจะอยู่ด้านบน เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells - RBCs) จะอยู่ที่ด้านล่าง เนื่องจากมีความหนาแน่นสูงกว่า พลาสมา (Plasma) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เบากว่า จะลอยอยู่ด้านบน ชั้นบัฟฟีโค้ท (Buffy Coat) ซึ่งเป็นชั้นที่มีเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด จะอยู่ตรงกลางระหว่างเม็ดเลือดแดงและพลาสมา การวัดฮีมาโตคริต: หลังจากปั่นแยกเสร็จ จะสามารถวัดสัดส่วนของเม็ดเลือดแดงเมื่อเทียบกับปริมาตรทั้งหมดของเลือดในหลอด ตัวเลขที่ได้มักจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น ฮีมาโตคริต 45% หมายความว่า 45% ของปริมาตรเลือดนั้นเป็นเม็ดเลือดแดง การใช้งานหลัก การตรวจ ฮีมาโตคริต ใช้ในการวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง (Anemia) ซึ่งมีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ หรือภาวะเม็ดเลือดแดงสูง (Polycythemia) ใช้ในการประเมินสภาวะทางสุขภาพของผู้ป่วยที่อาจมีการเสียเลือดมาก เช่น ภาวะขาดน้ำ หรือการตรวจเลือดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ข้อดีของเครื่อง Centrifuge ฮีมาโตคริต รวดเร็วและแม่นยำในการแยกส่วนประกอบของเลือด ใช้งานง่ายและเป็นเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ช่วยในการวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับระบบเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวัดฮีมาโตคริตเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการตรวจวินิจฉัยภาวะโลหิตในห้องปฏิบัติการ

อ่านเพิ่มเติม ❯

การทดสอบสารตกค้างที่ไม่ระเหย – การระบุน้ำหนักของสาร NVR

การตรวจวัดสาร NVR อย่างถูกต้องเป็นตัววัดการควบคุมคุณภาพที่สำคัญอย่างหนึ่ง สารตกค้างที่ไม่ระเหย (NVR) หรือสารที่ไม่ระเหยคือสารที่ละลายได้ สารแขวนลอย และฝุ่นละอองที่เหลืออยู่หลังจากการระเหยของตัวทำละลายที่ระเหยได้ซึ่งอยู่ในวัสดุ โดยสามารถใช้การวิเคราะห์สารที่ไม่ระเหยเพื่อวัดความบริสุทธิ์ของตัวทำละลาย และตรวจวัดจำนวนการปนเปื้อนขนาดเล็กบนพื้นผิวของสิ่งของหรือส่วนประกอบ (กล่าวคือ ความสะอาดของวัสดุดังกล่าว) การวัดสาร NVR เกี่ยวข้องกับการทำให้ตัวทำละลายอินทรีย์เกิดการระเหย จากนั้นจึงตรวจวัดสารตกค้างด้วยการชั่งน้ำหนักโดยใช้เครื่องชั่งที่มีความไวและภาชนะชั่งน้ำหนักที่มีการทดน้ำหนักอย่างระมัดระวัง การวิเคราะห์ประเภทนี้เป็นพื้นฐานของการทดสอบคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม รวมถึงอุตสาหกรรมเคมี ยาและเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และอิเล็กทรอนิกส์ การวัดสารที่ไม่ระเหยเป็นการทดสอบเพื่อการรับประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งการมีสารตกค้างใดๆ อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ หรือประสิทธิภาพของกระบวนการ การทดสอบ NVR มีประโยชน์ในการควบคุมกระบวนการผลิตและรับรองการปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น การรับรองความสะอาดของอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือแพทย์ที่ฝังในร่างกาย การลดการปนเปื้อนขนาดเล็กบนส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์ การตรวจวัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อย่างเช่น สี สารขัดเงา แลกเกอร์ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การรักษาขีดจำกัดการเคลื่อนที่ของตัวทำละลายที่เป็นพิษในบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหาร เพราะเหตุใดการชั่งน้ำหนักที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญ การชั่งน้ำหนักสารตกค้างที่ไม่ระเหยเป็นการใช้การชั่งน้ำหนักเพื่อหาส่วนต่าง จำนวนสารตกค้างที่ไม่ระเหยที่เก็บได้โดยทั่วไปมักมีปริมาณน้อยมาก เมื่อตัวทำละลายบริสุทธิ์มาก หรือเมื่อมีการปนเปื้อนน้อยมาก จำเป็นต้องใช้ตัวอย่างจำนวนมากเพื่อให้ได้สารตกค้างจำนวนน้อย การตรวจวัดตัวอย่างจำนวนน้อยดังกล่าวต้องใช้เครื่องชั่งที่มีความถูกต้องสูง ซึ่งในหลายกรณีต้องมีค่าอ่านละเอียดเท่ากับ 10 หรือ 1 µg (ทศนิยม 5-6 ตำแหน่ง)

อ่านเพิ่มเติม ❯

การวิเคราะห์โลหะปริมาณน้อย การเตรียมตัวอย่างและสารมาตรฐาน

เพราะเหตุใดการชั่งน้ำหนักอย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญต่อการวิเคราะห์สิ่งปลอมปนอนินทรีย์ที่เป็นโลหะและโลหะหนัก การวิเคราะห์โลหะปริมาณน้อยจะช่วยระบุและบอกปริมาณโลหะและโลหะหนักที่มีอยู่น้อยมากในตัวอย่าง แม้ว่าการมีโลหะปริมาณน้อยในอาหารของเราจะเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี แต่โลหะหลายชนิดก็อาจเป็นพิษและส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมได้ การวิเคราะห์โลหะปริมาณน้อยจะใช้เพื่อรับรองการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและข้อกำหนดทางกฎหมาย อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ เคมี และปิโตรเคมีได้นำการวิเคราะห์โลหะปริมาณน้อยมาใช้ในการควบคุมคุณภาพเพื่อระบุและตรวจวัดสิ่งปลอมปนที่เป็นโลหะในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ยา ปุ๋ย เครื่องสำอาง บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ สารหล่อลื่น และตัวเร่งปฏิกิริยา เนื่องจากโลหะอาจส่งผลกระทบต่อปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ได้ การวิเคราะห์โลหะปริมาณน้อยจึงยังนำมาใช้ในการวิจัย Formulation ทางเคมีและเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ดีขึ้นอีกด้วย การระบุปริมาณธาตุปนเปื้อนที่อาจเป็นพิษซึ่งมีจำนวนน้อยมาก เช่น ตะกั่ว (Pb), ปรอท (Hg), สารหนู (As), แคดเมียม (Cd), ทองแดง (Cu), นิกเกิล (Ni), สังกะสี (Zn) และอื่นๆ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เชิงวิเคราะห์ที่มีความละเอียดสูง โดยปกติโลหะในตัวอย่างจะได้รับการตรวจวัดแบบส่วนในล้านส่วน (Parts Per Million หรือ PPM), ส่วนในพันล้านส่วน (Parts Per Billion หรือ PPB) หรือแม้กระทั่งส่วนในล้านล้านส่วน (Parts Per Trillion หรือ PPT) โดยขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของตัวอย่าง (เช่น เมทริกซ์ตัวอย่าง) และเทคนิคเชิงวิเคราะห์ที่ใช้ วิธีการเชิงวิเคราะห์ทั่วไปที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์โลหะปริมาณน้อยประกอบด้วยเทคนิค Atomic Absorption Spectroscopy (AAS), Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectroscopy (ICP-OES) และ Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS) เหตุใดการชั่งน้ำหนักที่ถูกต้องแม่นยำจึงมีความสำคัญ การวิเคราะห์โลหะปริมาณน้อยโดย ICP เป็นขั้นตอนที่มีความละเอียดอ่อนสูง ฉะนั้นตัวอย่าง สารมาตรฐานอ้างอิง และมาตรฐานการสอบเทียบจึงจะต้องได้รับการชั่งน้ำหนัก จ่ายสาร และเจือจางอย่างระมัดระวังและถูกต้องแม่นยำสูง ในการเตรียมสารละลายเชิงปริมาตรและชุดการเจือจางซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งการปิเปตและเครื่องแก้วที่ใช้วัดปริมาตร เช่น ขวดทรงกรวย มักมีข้อผิดพลาดที่แฝงอยู่เสมอ แต่การเตรียมสารละลายและการเจือจางแบบกราวิเมตริกนั้นให้ความถูกต้องแม่นยำระดับสูงกว่ามาก

อ่านเพิ่มเติม ❯

การระบุปริมาณความชื้น ด้วยเครื่องวัดความชื้นฮาโลเจน

วิธีการเพื่อให้ได้ผลการวัดความชื้นที่เชื่อถือได้ด้วยเครื่องวัดความชื้นด้วยฮาโลเจน ปริมาณความชื้นจะส่งผลต่อความสามารถในการแปรรูป อายุการเก็บรักษา ความสามารถในการใช้งาน และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การระบุปริมาณความชื้นที่แม่นยำจึงมีบทบาทสำคัญต่อการประกันคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เคมีภัณฑ์ รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายควบคุมปริมาณความชื้นสูงสุดที่อนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์บางชนิด (เช่น ระเบียบข้อบังคับด้านอาหารแห่งชาติ) การระบุปริมาณความชื้นทั่วไปมักใช้วิธีการวัดการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อน กล่าวคือ วัดจากการสูญเสียน้ำหนักจากการทำให้แห้ง โดยการให้ความร้อนกับตัวอย่างและบันทึกการสูญเสียน้ำหนักเนื่องจากการระเหยของความชื้น มีขั้นตอนมากมายในกระบวนการผลิตที่การวัดค่าความชื้นสามารถสร้างประโยชน์ให้กับคุณภาพโดยรวมของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป วัตถุดิบ สินค้า การเก็บรักษา การควบคุมในกระบวนการ การควบคุมคุณภาพ การบรรจุหีบห่อ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม วิธีอ้างอิงสำหรับวัดการสูญเสียน้ำหนักจากการทำให้แห้ง (วิธีการใช้เตาอบเพื่อการทำให้แห้ง) อาจใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ เครื่องมือของ METTLER TOLEDO ให้ผลลัพธ์ที่เปรียบเทียบและตรวจสอบได้ในเวลาไม่ถึง 15 นาที คู่มือสำหรับการวิเคราะห์ความชื้นของเราให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นหลักๆ ซึ่งสำคัญต่อการใช้งานเครื่องวัดความชื้น และช่วยให้คุณสามารถระบุปริมาณความชื้นได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย และเชื่อถือได้

อ่านเพิ่มเติม ❯

การเตรียมตัวอย่างสำหรับการไทเทรต

การชั่งน้ำหนักตัวอย่างที่ถูกต้องสำหรับการไทเทรต การไทเทรตเป็นการวัดปริมาณสารที่เฉพาะเจาะจง (สารที่ต้องการวิเคราะห์) ที่มีอยู่ในตัวอย่าง โดยการเพิ่มตัวทำปฏิกิริยาที่มีการควบคุม (ไทแทรนต์) ซึ่งทราบความเข้มข้นตามการทำปฏิกิริยาเคมีโดยสมบูรณ์ระหว่างสารและตัวทำปฏิกิริยา โดยมีการเติมไทแทรนต์จนกว่าการทำปฏิกิริยาจะสมบูรณ์ (จุดสมมูล) วิธีการแบบดั้งเดิมในการเฝ้าติดตามการทำปฏิกิริยาการไทเทรตคือ การเติมสารบ่งชี้ที่เหมาะสมลงในสารที่ต้องการวิเคราะห์ซึ่งจะเปลี่ยนสีเมื่อการทำปฏิกิริยาเคมีสมบูรณ์ (จุดสิ้นสุดการไทเทรต) ในปัจุบัน สามารถเฝ้าติดตามการทำปฏิกิริยาเคมีและจุดสิ้นสุด  โดยการใช้เซ็นเซอร์ เพราะเหตุใดการชั่งน้ำหนักที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การคำนวณหาปริมาณสารที่ต้องการวิเคราะห์สามารถทำได้  โดยดูจากการใช้ไทแทรนต์และความเข้มข้นของไทแทรนต์ รวมถึงน้ำหนักของตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ การชั่งน้ำหนักสารที่ใช้เตรียมสารละลายไทแทรนต์และสารละลายตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์อย่างถูกต้องมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพียงแค่มีการเตรียมตัวอย่างที่ถูกต้อง คุณก็สามารถมั่นใจได้ถึงผลการไทเทรตที่ถูกต้องได้

อ่านเพิ่มเติม ❯

การแบ่งประเภทของเครื่องชั่งน้ำหนักตามพิกัด, ความละเอียด และการใช้งาน

เครื่องชั่ง (Mettler Toledo) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม และมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้งานตามความต้องการ ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องชั่งน้ำหนักมีดังนี้: ประเภทของเครื่องชั่งน้ำหนักแบ่งตามพิกัด, ค่าความละเอียด และการใช้งาน 1. Analytical Balances: เครื่องชั่งน้ำหนักละเอียด เหมาะสำหรับการชั่งน้ำหนักในงานวิจัยและห้องปฏิบัติการที่ต้องการความแม่นยำสูง มีพิกัดให้เลือกตั้งแต่ 2.1 ถึง 320 กรัม และมีความละเอียดให้เลือกตั้งแต่ 0.1 มิลลิกรัม ถึง 0.1 ไมโครกรัม 2. Precision Balances: เครื่องชั่งน้ำหนักที่มีความละเอียดปานกลาง เหมาะสำหรับการชั่งน้ำหนักในงานที่ต้องการความแม่นยำปานกลาง เช่น การวิเคราะห์เคมี การชั่งน้ำหนักตัวอย่างเพื่อเตรียมสาร เป็นต้น มีพิกัดให้เลือกตั้งแต่ 220 ถึง 64.1 กิโลกรัม และมีความละเอียดให้เลือกตั้งแต่ 1 กรัม ถึง 1 มิลลิกรัม 3. Industrial Scales: เครื่องชั่งสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรม มีความทนทานและสามารถชั่งน้ำหนักได้มาก เหมาะสำหรับการชั่งในกระบวนการผลิตและการขนส่ง มีพิกัดให้เลือกตั้งแต่ 1 ถึง 5,000 กิโลกรัม และมีความละเอียดให้เลือกตั้งแต่ 1 กรัม ถึง 1 กิโลกรัม 4. Retail Scales: เครื่องชั่งที่ใช้ในธุรกิจค้าปลีก เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำ มีฟังก์ชันการคำนวณราคาและการพิมพ์ใบเสร็จ มีพิกัดให้เลือกตั้งแต่ 3 ถึง 30 กิโลกรัม และมีความละเอียดให้เลือกตั้งแต่ 0.1 ถึง 1 กรัม  5. Truck Scales: เครื่องชั่งน้ำหนักรถบรรทุก ใช้ในการชั่งน้ำหนักรถบรรทุกที่บรรจุสินค้า มีพิกัดสูง ขนาดใหญ่ และติดตั้งไว้กับที่ มีพิกัดให้เลือกตั้งแต่ 20,000 ถึง 120,000 กิโลกรัม และมีความละเอียดให้เลือกตั้งแต่ 5 ถึง 10 กิโลกรัม การบำรุงรักษาเครื่องชั่ง  1. การทำความสะอาด: ควรทำความสะอาดเครื่องชั่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองที่อาจส่งผลต่อความแม่นยำในการชั่ง  2. การสอบเทียบ: ควรทำการสอบเทียบเครื่องชั่งอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของผู้ผลิต เพื่อรักษาความแม่นยำในการชั่งน้ำหนัก  3. การจัดเก็บ: ควรจัดเก็บเครื่องชั่งในที่แห้งและปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสียหาย การเลือกใช้เครื่องชั่งน้ำหนัก (Mettler Toledo) ที่พิกัด, ความละเอียด และเหมาะสมกับงานจะช่วยให้การชั่งน้ำหนักมีความถูกต้อง แม่นยำ ราคาเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุด

อ่านเพิ่มเติม ❯
บทความทั้งหมด
บุคลากร

ติดต่อบุคลากรของเรา

กรรมการผู้จัดการ
สมภพ หลวงภักดี
(คุณโก้)
087 871 8915 [email protected]
กรรมการผู้จัดการ
ชูเดช หลวงภักดี
(คุณโย)
087 547 6859 [email protected]
หัวหน้าฝ่ายการตลาด / ฝ่ายบุคคล
นันทวัน งัดสันเทียะ
(คุณนัน)
092 705 1680 [email protected]
ฝ่ายขายงานราชการ
จักรพงษ์ เมืองเจริญ
(คุณเอก)
062 562 0080 [email protected]
ธุรการฝ่ายขาย
ศศิวิมล เชาว์พลกรัง
(คุณออย)
080 710 0553 [email protected]
ฝ่ายบัญชี
ปานทิพย์ สวัสดี
(คุณทาย )
086 324 3620 [email protected]
ฝ่ายบัญชี
จิตรวรรณ สิงห์งอย
(คุณอิง )
081 156 6557 [email protected]
ฝ่ายเซอร์วิสและสอบเทียบ
พยงค์ ดอนจังหรีด
(คุณเจี๊ยบ)
061 027 8800 [email protected]
ฝ่ายเซอร์วิสงานขาย
ภักพิรุฬห์ นิชธาวัลย์ภักดี
(คุณกลอฟ)
062 424 4300 [email protected]
ฝ่ายขนส่ง
ศักดิ์สิทธิ์ วังราช
(คุณไทป์)
082 667 7260 [email protected]
ฝ่ายขายในห้องแล็บ
ภรกฤช ศรีตาแสน
(คุณดอส)
090 236 9928 [email protected]
ฝ่ายขายนอกห้องแล็บ
กรวินท์ วงษ์ชนะสิทธิ์
(คุณมายด์)
0659315599 [email protected]
ธุรการฝ่ายบัญชี - สต็อค
วันทนี ศรีพนม
(คุณบุ๋ม)
0959266399 [email protected]
กรรมการผู้จัดการ
สมภพ หลวงภักดี
(คุณโก้)
087 871 8915 [email protected]
กรรมการผู้จัดการ
ชูเดช หลวงภักดี
(คุณโย)
087 547 6859 [email protected]
หัวหน้าฝ่ายการตลาด / ฝ่ายบุคคล
นันทวัน งัดสันเทียะ
(คุณนัน)
092 705 1680 [email protected]
ฝ่ายขายงานราชการ
จักรพงษ์ เมืองเจริญ
(คุณเอก)
062 562 0080 [email protected]
ธุรการฝ่ายขาย
ศศิวิมล เชาว์พลกรัง
(คุณออย)
080 710 0553 [email protected]
ฝ่ายบัญชี
ปานทิพย์ สวัสดี
(คุณทาย )
086 324 3620 [email protected]
ฝ่ายบัญชี
จิตรวรรณ สิงห์งอย
(คุณอิง )
081 156 6557 [email protected]
ฝ่ายเซอร์วิสและสอบเทียบ
พยงค์ ดอนจังหรีด
(คุณเจี๊ยบ)
061 027 8800 [email protected]
ฝ่ายเซอร์วิสงานขาย
ภักพิรุฬห์ นิชธาวัลย์ภักดี
(คุณกลอฟ)
062 424 4300 [email protected]
ฝ่ายขนส่ง
ศักดิ์สิทธิ์ วังราช
(คุณไทป์)
082 667 7260 [email protected]
ฝ่ายขายในห้องแล็บ
ภรกฤช ศรีตาแสน
(คุณดอส)
090 236 9928 [email protected]
ฝ่ายขายนอกห้องแล็บ
กรวินท์ วงษ์ชนะสิทธิ์
(คุณมายด์)
0659315599 [email protected]
ธุรการฝ่ายบัญชี - สต็อค
วันทนี ศรีพนม
(คุณบุ๋ม)
0959266399 [email protected]
ติดต่อเรา

ติดต่อ บริษัท มาย แล็บ สเกล จำกัด

เราคือผู้นำในเรื่องเครื่องวัดและวิเคราะห์ จำหน่ายเครื่องชั่งในห้องแล็บ อุปกรณ์ภายในห้องแล็บ เครื่องมือทางด้านวิศวกรรมรวมไปถึงบริการซ่อมและสอบเทียบเครื่องมือ เป็นเวลากว่า 10 ปี

ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า
บริษัท มาย แล็บ สเกล จำกัด ยินดีให้บริการพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
เวลาทำการ วันจันทร์ - ศุกร์ 8.30 น. - 16.30 น.
เปิดแผนที่บน Google Map

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม